ภาษารัสเซียและวรรณกรรม
ภาษารัสเซีย
รัสเซียประกอบไปด้วย 160 ชาติพันธุ์ ซึ่งพูดภาษากว่า 100 ภาษาที่แตกต่างกัน เช่น ภาษาตาตาร์ ภาษายูเครน แต่ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ ตามรัฐธรรมนูญได้ประกาศให้แต่ละเขตการปกครองสามารถใช้ภาษาท้องถิ่นควบคู่กับภาษารัสเซียได้ ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในรัสเซียและแถบยูเรเชีย ทั้งยังเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดเมื่อเทียบกับภาษาในกลุ่มภาษาสลาฟ เช่น ภาษาเบลารุส ภาษายูเครน
หนังสือเกี่ยววิทยาศาสตร์กว่าครึ่งที่มีอยู่ในโลกถูกตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมถึงหนังสือแขนงต่างๆอีกด้วย ดังนั้น แหล่งความรู้ของทั้งโลกจึงรวมอยู่ที่รัสเซียเกือบทั้งหมด รวมถึงนิสัยรักการอ่านของชาวรัสเซียเอง ทำให้รัสเซียกลายเป็นประเทศที่เป็นตัวแปรสำคัญของวิทยาการต่างๆมาแต่ไหนแต่ไร นอกจากนี้ภาษารัสเซียยังเป็นภาษากลางในสหประชาชาติอีกด้วย
วรรณกรรม
วรรณกรรมรัสเซีย ซึ่งสร้างอิทธิพลและการพัฒนาของโลก มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 โดยมิคาอิล ลามาโนซอฟ (Mikhail Lomonosov) ถัดมาในศตวรรษที่ 19 คือ “ยุคทองแห่งกวีรัสเซีย”</strong style=”font-size: medium;”> โดยนักกวีผู้โด่งดังแห่งยุคนี้ ได้แก่ อเล็กซานเดอร์ ปุชกิ้น (Alexander Pushkin) ซึ่งได้รับฉายาว่าเป็นเชคสเปียร์แห่งรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีนักประพันธ์คนสำคัญอีกมากมาย อาทิ มิคาอิล เลอมอนตอฟ(Mikhail Lermontov), อันโตน เชคอฟ(Anton Chekhov), นิโคลัย โกกอล(Nikolai Gogol), อีวาน ตูร์เกนเนฟ(Ivan Turgenev), ลีโอ ตอลสตอล(Leo Tolstoy), ฟีโอดอร์ ดอสตาเยฟสกี้ (Fyodor Dostoyevsky) ซึ่งผลงานของพวกเขาถูกยกย่องเป็นบทประพันธ์ระดับโลก หลังจากปี ค.ศ. 1880 วรรณกรรมบของรัสเซียได้เปลี่ยนแปลงไป จากนวนิยายอันยิ่งใหญ่กลายเป็นฟิคชั้นเรื่องสั้น หรือที่รู้จักกันใน “ยุคเงินแห่งกวี” นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ อาทิ อเล็กซานเดอร์ บล็อค (Aleksandr Blok), อีวาน บูนิน (Ivan Bunin), และมักซิม กอร์กี้ (Maxim Gorky)
หลังจากการปฏิวัติรัสเซียในปี ค.ศ. 1917 แนวทางวรรณกรรมของรัสเซียได้เปลี่ยนไป โดยจะเป็นผลงานที่กล่าวถึงวัฒนธรรมและชวนเชื่อระบบสังคมนิยม ทำให้นักเขียนอพยพออกนอกประเทศจำนวนมาก หลังจากยุค 1970 แนวทางของผลงานได้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง โดยเน้นการเขียนต่อต้านรัฐบาล และนอกจากนี้ยังถูกเรียกว่าเป็น “ยุคทองแห่ง ฟิคชั่นวิทยาศาสตร์” โดยนิยายหลายเรื่องได้ถูกประเทศในแถบยุโรปนำไปดัดแปลง นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ อาทิ ไอแซค บาเบล(Isaac Babel), วลาดิมีร์ มายาคอฟสกี้ (Vladimir Mayakovsky), บอริส ปาสเตอนาค (Boris Pasternak)
No Comments